การสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ประกอบด้วยชุดข้อสอบที่ออกแบบและพัฒนาขึ้นเพื่อประเมินความสามารถของผู้สมัครสอบในการประยุกต์ใช้ความรู้ด้านการวางแผนการเงินให้เข้ากับสถานการณ์การวางแผนการเงินรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถมั่นใจได้ว่านักวางแผนการเงินที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ CFP (นักวางแผนการเงิน CFP) และที่ปรึกษาการเงินที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพ AFPT (ที่ปรึกษาการเงิน AFPT) มีความรู้ความสามารถในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงินตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
1. โครงสร้างข้อสอบ
การสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ประกอบด้วยข้อสอบจำนวน 4 ฉบับ ซึ่งแต่ละฉบับถูกออกแบบมาเพื่อทดสอบความสามารถพื้นฐานในการวางแผนการเงินแต่ละด้านของผู้สมัครสอบ
2. ข้อกำหนดด้านการศึกษา
ผู้สมัครสอบที่จะมีสิทธิ์สอบข้อสอบแต่ละฉบับ จะต้องผ่านการอบรมหลักสูตรการวางแผนการเงิน ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ และชุดวิชาอื่นๆ ตามที่สมาคมนักวางแผนการเงินไทย (สมาคมฯ) กำหนด หรือได้รับการยกเว้นการอบรมบางชุดวิชาผ่านการเทียบเคียงความรู้พื้นฐาน (Transcript Review) หรือทุกชุดวิชาผ่านการขอสิทธิ์เข้าสอบโดยไม่ผ่านการอบรม (Challenge Status)
3. ลำดับของการสอบ
ผู้สมัครสอบสามารถเลือกสอบข้อสอบฉบับที่ 1-3 ฉบับใดฉบับหนึ่งก่อนก็ได้ โดยผู้สมัครสอบจะต้องผ่านการอบรมชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ และชุดวิชาที่มีเนื้อหาตรงกับข้อสอบฉบับนั้นๆ ตามที่สมาคมฯ กำหนด ทั้งนี้ ผู้สมัครสอบจะต้องสอบผ่านข้อสอบฉบับที่ 1-3 ให้ครบทุกฉบับก่อน จึงจะมีสิทธิ์สอบข้อสอบฉบับที่ 4 ได้
4. ภาษาที่ใช้ในการสอบ
ข้อสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ทุกฉบับเป็นภาษาไทย
5. ระยะเวลาในการสอบ
ข้อสอบฉบับที่ 1-3 ให้เวลาทำข้อสอบฉบับละ 3 ชั่วโมง
ข้อสอบฉบับที่ 4
ส่วนที่ 1: การวางแผนภาษีและมรดก ให้เวลาทำข้อสอบ1.30 ชั่วโมง
ส่วนที่ 2: การจัดทำแผนการเงิน
จัดทำแผนการเงินภายในระยะเวลาที่สมาคมฯ กำหนด
นำเสนอและตอบข้อซักถามเกี่ยวกับแผนการเงิน 30-60 นาที
6. การประเมินผล
คำถามทุกข้อมีคะแนนเท่ากัน ไม่มีการหักคะแนนคำถามข้อที่ตอบผิด ข้อสอบแต่ละฉบับจะถูกประเมินผลแยกจากกัน ผลคะแนนสอบของข้อสอบแต่ละฉบับจะไม่มีผลซึ่งกันและกัน
7. การสอบซ้ำ
สมาคมฯ อนุญาตให้ผู้สมัครสอบสามารถลงทะเบียนสอบซ้ำได้เฉพาะข้อสอบฉบับที่ตนไม่ผ่านการประเมินเท่านั้น และไม่จำกัดจำนวนครั้งของการเข้าสอบซ้ำสำหรับข้อสอบแต่ละฉบับ
สมาคมฯ ไม่อนุญาตให้ผู้สมัครสอบลงทะเบียนสอบข้อสอบฉบับที่ตนได้ผ่านการประเมินแล้วซ้ำอีก ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยของข้อมูลในข้อสอบ
8. ความถี่ในการเปิดสอบ
ผู้สมัครสอบสามารถดูข้อมูลกำหนดการสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ได้จากเว็บไซต์ CMSK Academy
9. การเตรียมตัวสอบ
ผู้สมัครสอบควรทบทวนบทเรียนหรือเอกสารประกอบการเรียนทั้งหมด และทดลองทำแบบฝึกหัดเพื่อประเมินความรู้และความสามารถของตนตามวัตถุประสงค์การเรียนรู้ของแต่ละหัวข้อในแต่ละชุดวิชา ผู้สมัครสอบควรใช้เวลาในการศึกษาทบทวนด้วยตนเองอย่างน้อย 40 ชั่วโมงก่อนการสอบจริง
10. เกณฑ์การให้คะแนนสอบ
ใช้ดินสอ 2B บันทึกคำตอบในกระดาษคำตอบเท่านั้น
คำถามแต่ละข้อ สามารถเลือกคำตอบได้เพียง 1 ตัวเลือก หากตอบมากกว่า 1 ตัวเลือก จะถือว่าตอบผิด แม้ว่าหนึ่งในคำตอบที่เลือกนั้นจะเป็นคำตอบที่ถูกต้อง กรณีคำถามข้อที่มีการใช้ยางลบเพื่อลบตัวเลือกที่ไม่ต้องการออกไม่หมด จะถือว่าผู้สมัครสอบเลือกคำตอบเกินกว่า 1 ตัวเลือก
นับคะแนนตามจำนวนคำถามข้อที่เลือกคำตอบถูกต้อง หากตอบผิด ไม่มีการหักคะแนน
คำถามแต่ละข้อของข้อสอบฉบับที่ 1-3 และฉบับที่ 4 ส่วนที่ 1 มีคะแนนข้อละ 1 คะแนน
ข้อสอบฉบับที่ 4 ส่วนที่ 2 การนำเสนอแผนการเงิน
ในการวิเคราะห์และนำเสนอแผนการเงินแบบบูรณาการ ผู้สมัครสอบต้องใช้วิจารณญาณเสมือนหนึ่งเป็นการวิเคราะห์เพื่อนำเสนอต่อลูกค้าที่มีตัวตนจริงๆ ทั้งนี้ ผู้สมัครสอบสามารถตั้งข้อสมมุติฐานต่างๆ ได้อย่างกว้างขวาง และนำมาใช้ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และข้อเท็จจริงในขณะที่มีการนำเสนอแผนการเงิน โดยสามารถให้เหตุผลสนับสนุนสมมุติฐานต่างๆ ได้ด้วย
คณะกรรมการที่ทำหน้าที่ตรวจแผนการเงินและรับฟังการนำเสนอแผนการเงินเป็นกรรมการชุดเดียวกัน มีจำนวน 3 ท่าน
เกณฑ์การให้คะแนน
1. แผนการเงิน
การวิเคราะห์ข้อมูล
สามารถวิเคราะห์สถานะและปัญหา/ข้อจำกัดทางการเงินของลูกค้าได้อย่างมีเหตุผล และน่าเชื่อถือ รวมถึงใช้การคำนวณที่เหมาะสม
สามารถกำหนดข้อสมมุติฐานที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสมและน่าเชื่อถือ
สามารถวิเคราะห์ และคำนวณความต้องการทางการเงิน ซึ่งนำไปสู่กลยุทธ์ และวิธีการที่เกี่ยวข้องกับเป้าหมายทางการเงินของลูกค้า
ข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำ
ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาหรือข้อจำกัดทางการเงินที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายทางการเงินของลูกค้าเหมาะสม สามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
เสนอแนะและคำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับแผนการเงินในแต่ละด้านที่เกี่ยวข้องเหมาะสม มีเหตุผลและสมมุติฐานที่น่าเชื่อถือ เป็นไปตามหลักจรรยาบรรณที่ดี และสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
แผนการเงินในแต่ละด้านมีความสอดคล้องและความสัมพันธ์ระหว่างกัน รวมเป็นแผนการเงินแบบบูรณาการ
แผนปฏิบัติการ
เป็นเหตุเป็นผล สอดคล้องกับข้อเสนอแนะ หรือคำแนะนำ
เป็นขั้นตอนสามารถนำไปปฏิบัติได้จริง
กรอบของระยะเวลาการนำไปปฏิบัติในแต่ละขั้นตอนเป็นไปอย่างสมเหตุสมผล และกำหนดบทบาทของผู้รับผิดชอบในแต่ละขั้นตอนได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
2. การนำเสนอแผนการเงิน
มีความน่าสนใจ น่าเชื่อถือ และมีองค์ประกอบ หัวข้อ หรือรายละเอียดครบตามหลักวิชาการ
โครงสร้างและลำดับการนำเสนอแผนการเงินเหมาะสม
ภาษาและการสื่อสารเข้าใจง่าย สามารถตอบคำถามได้อย่างน่าเชื่อถือ
บุคลิกภาพของผู้นำเสนอเหมาะสม
11. การแจ้งผลการสอบ
สมาคมฯ จะส่งหนังสือแจ้งผลการสอบให้ผู้สมัครสอบทราบเป็นลายลักษณ์อักษร ภายใน 45 วันหลังจากวันสอบ
12. เกณฑ์การสอบผ่าน
ข้อสอบฉบับที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ |
สอบได้ 70% ของคะแนนรวม และ บังคับผ่าน 70% ในส่วนจรรยาบรรณ |
ข้อสอบฉบับที่ 2 การวางแผนการลงทุน |
สอบได้ 70% ของคะแนนรวมและ บังคับผ่าน 70% ในส่วนแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ลงทุน |
ข้อสอบฉบับที่ 3 การวางแผนการประกันภัยและการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ |
สอบได้ 70% ของคะแนนรวม |
ข้อสอบฉบับที่ 4 การวางแผนภาษีและมรดก และการจัดทำแผนการเงิน |
บังคับผ่าน 70% ของคะแนนในส่วนที่ 1 การวางแผนภาษีและมรดก และ ผลการประเมินของการสอบในส่วนที่ 2 การจัดทำแผนการเงิน จะต้องอยู่ในเกณฑ์ "ผ่าน" (การประเมินผลของการสอบในส่วนที่ 2 มีเพียง "ผ่าน" หรือ "ไม่ผ่าน") |
ข้อสอบ | บุคคลทั่วไป |
สมาชิกสมาคมฯ |
ฉบับที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ |
2,000 | 1,700 |
ข้อสอบฉบับที่ 2 การวางแผนการลงทุน |
3,000 |
2,550 |
ข้อสอบฉบับที่ 3 การวางแผนการประกันภัยและการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ |
3,000 | 2,550 |
ข้อสอบฉบับที่ 4 การวางแผนภาษีและมรดก และการจัดทำแผนการเงิน ส่วนที่ 1 การวางแผนภาษีและมรดก ส่วนที่ 2 การจัดทำแผนการเงิน |
2,000 5,500 |
1,700 4,675 |
1. เนื้อหาข้อสอบ
นักวางแผนการเงิน CFP และปรึกษาการเงิน AFPT จะต้องผ่านการสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP ตามที่สมาคมฯ กำหนด ซึ่งประกอบด้วยข้อสอบจำนวน 4 ฉบับ แต่ละฉบับมีเนื้อหาครอบคลุมแต่ละชุดวิชา ดังต่อไปนี้
ข้อสอบฉบับที่ |
การอบรมชุดวิชาที่ |
1. พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ | 1. พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ |
2. การวางแผนการลงทุน | 2. การวางแผนการลงทุน |
3. การวางแผนการประกันภัย และการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ | 3. การวางแผนการประกันภัย และ 4. การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ |
4. การวางแผนภาษีและมรดก และการจัดทำแผนการเงิน | 5. การวางแผนภาษีและมรดก และ 6. การจัดทำแผนการเงิน |
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนทางการเงิน |
6-10 ข้อ |
- เครื่องมือทางการเงินสำหรับการบริหารสภาพคล่องส่วนบุคคล |
6-10 ข้อ |
- มูลค่าเงินตามเวลา |
11-15 ข้อ |
- การรวบรวมข้อมูลทางการเงินส่วนบุคคล |
9-13 ข้อ |
- การวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล |
9-13 ข้อ |
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษีเงินได้ส่วนบุคคล |
11-15 ข้อ |
- จรรยาบรรณ และคู่มือการปฏิบัติงานสำหรับนักวางแผนการเงิน |
21 ข้อ |
- แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการลงทุนและการวางแผนการลงทุน |
4-8 ข้อ |
- แนวคิดเบื้องต้นเกี่ยวกับการลงทุนและการวางแผนการลงทุน |
6-10 ข้อ |
- หลักทรัพย์ลงทุนในตลาดเงินและตลาดตราสารทุน |
6-10 ข้อ |
- หลักทรัพย์ลงทุนในตลาดตราสารหนี้และอนุพันธ์ |
6-10 ข้อ |
- การลงทุนในทางเลือกอื่น |
6-10 ข้อ |
- ข้อมูลและการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อตัดสินใจลงทุน |
6-10 ข้อ |
- ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการบริหารกลุ่มหลักทรัพย์ |
6-10 ข้อ |
- การจัดสรรเงินลงทุนในกลุ่มหลักทรัพย์ |
6-10 ข้อ |
- กลยุทธ์การบริหารกลุ่มหลักทรัพย์ |
6-10 ข้อ |
- การวัดผลตอบแทนกลุ่มหลักทรัพย์ |
6-10 ข้อ |
- แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ลงทุน* |
15 ข้อ |
* เนื้อหาวิชา "แนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ทำหน้าที่ติดต่อกับผู้ลงทุน" ผู้สอบจะต้องศึกษาด้วยตนเอง (self study) |
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนการประกันภัย |
1-15 ข้อ |
- การจัดการความเสี่ยงภัยและการประกันภัย |
7-11 ข้อ |
- การประกันชีวิตและการประกันสุขภาพ |
17-21 ข้อ |
- การประกันวินาศภัย |
8-12 ข้อ |
- การจัดทำแผนประกันภัย |
8-12 ข้อ |
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ |
1-5 ข้อ |
- การประกันสังคม |
3-7 ข้อ |
- กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ |
1-5 ข้อ |
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ |
3-7 ข้อ |
- กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) |
3-7 ข้อ |
- การบริหารความเสี่ยงและการลงทุนเพื่อวัยเกษียณ |
1-4 ข้อ |
- กระบวนการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ |
7-11 ข้อ |
- การวางแผนเพื่อวัยเกษียณสำหรับผู้ประกอบการและบทบาทของนักวางแผนการเงินกับการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ |
1-4 ข้อ |
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวางแผนภาษีและกระบวนการวางแผนภาษี |
1-5 ข้อ |
- โครงสร้างและองค์ประกอบการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
1-5 ข้อ |
- กลยุทธ์ในการวางแผนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา |
12-16 ข้อ |
- - การกระจายหน่วยภาษีและการกระจายเงินได้ |
|
- - การลดเงินได้สุทธิ |
|
- - การแปลงประเภทเงินได้เพื่อประโยชน์ในการหักค่าใช้จ่าย |
|
- - การบริหารเงินได้จากแหล่งเงินได้นอกประเทศ |
|
- - การกำหนดเวลาในการรับเงินได้ |
|
- - การเลือกรวมหรือไม่รวมเสียภาษีปลายปี |
|
- การวางแผนภาษีแยกตามประเภทอาชีพมนุษย์เงินเดือน |
14-18 ข้อ |
- - ผู้ประกอบวิชาชีพอิสระ |
|
- - ผู้ประกอบธุรกิจรับเหมาและธุรกิจอื่น |
|
- - ผู้มีเงินได้จากการลงทุนใน |
|
- - ผู้มีเงินได้จากการใช้หรือเช่าทรัพย์สินหลักทรัพย์ |
|
- - ผู้มีเงินได้จากการขายทรัพย์สิน |
|
- แนวคิดในการวางแผนทรัพย์สิน และมรดก และการจัดการทรัพย์สินในขณะมีชีวิต |
1-4 ข้อ |
- ความหมายของมรดก |
1-3 ข้อ |
- การตกทอดของทรัพย์มรดกและผู้จัดการมรดก |
1-5 ข้อ |
- พินัยกรรมและกระบวนการวางแผนการจัดการทรัพย์สินและมรดก |
1-5 ข้อ |