นักวางแผนการเงิน CFP® คืออะไร

        เป็นผู้ประกอบวิชาชีพนักวางแผนการเงิน ที่สามารถให้บริการวางแผนการเงินซึ่งประกอบด้วย แผนการลงทุน แผนการประกันชีวิต แผนภาษีและมรดก และแผนเพื่อวัยเกษียณแก่ลูกค้า ที่ครอบคลุมทั้งการให้คำปรึกษา และจัดทำแผนการเงิน ในทุกๆ ด้านตามที่กล่าวมาภายใต้ข้อจำกัดและเงื่อนไข เฉพาะของแต่ละบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการเงินตามต้องการ และมีชีวิตบั้นปลายภายหลังเกษียณอย่างมีความสุข เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างจุดที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไปสู่เป้าหมายในอนาคต โดยนักวางแผนการเงิน CFP® จะต้องสอบผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ

นักวางแผนการเงิน CFP® และที่ปรึกษาการเงิน AFPT™

   นักวางแผนการเงิน CFP® 
นักวางแผนการเงิน CFP®  มีหน้าที่ให้คำแนะนำและวางแผนการเงินส่วนบุคคลที่ครอบคลุมครบทุกด้าน ได้แก่ การวางแผนการบริหารเงินสด การวางแผนการลงทุน การวางแผนการประกันชีวิต การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ การวางแผนภาษีและมรดก และการวางแผนการเงินเพื่อเป้าหมายเฉพาะ

   ที่ปรึกษาการเงิน AFPT™
ที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ มีหน้าที่ให้คำแนะนำและคำปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับด้านการวางแผนการลงทุน และ/หรือด้านการวางแผนการประกันชีวิตและการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ

คุณสมบัติพื้นฐานสำหรับนักวางแผนการเงิน CFP® และที่ปรึกษาการเงิน AFPT™
นักวางแผนการเงิน CFP® และที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ จะต้องมีคุณสมบัติตามเกณฑ์การขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพที่สมาคมนักวางแผนการเงินไทยกำหนด ดังนี้

      การศึกษา (Education) นักวางแผนการเงิน CFP® และที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ จะต้องมีความรู้ด้านการวางแผนการเงินและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในทางทฤษฎีและปฏิบัติตามมาตรฐานที่สมาคมฯ กำหนด โดยต้องเข้ารับการอบรมพื้นฐานความรู้ 6 วิชา กับสถาบันอบรมที่ได้รับอนุญาตของสมาคมฯ
      การสอบ (Examination) นักวางแผนการเงิน CFP® และที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ จะต้องผ่านการสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP® เพื่อประเมินความสามารถในการนำความรู้ และทักษะจากการอบรมไปประยุกต์ใช้สำหรับการวางแผนการเงิน
      ประสบการณ์การทำงาน (Experience) สมาคมฯ กำหนดให้นักวางแผนการเงิน CFP® จะต้องมีประสบการณ์การทำงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการให้บริการวางแผนการเงินแก่ลูกค้า เพื่อแสดงให้เห็นว่าเป็นผู้มีความรู้ และความสามารถในเชิงปฏิบัติ
      จรรยาบรรณ (Ethics) ผู้สมัครขอขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP® และคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ จะต้องปฏิบัติตามประมวลจรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงินเพื่อให้ลูกค้าได้รับประโยชน์สูงสุด รวมทั้งได้รับความเชื่อมั่นและความไว้วางใจจากลูกค้า

การขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP® และ คุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT™

คุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP® เป็นคุณวุฒิของผู้ประกอบวิชาชีพที่สามารถให้บริการวางแผนการเงินซึ่งประกอบด้วย แผนการลงทุน แผนการประกันชีวิต แผนภาษีและมรดก และแผนเพื่อวัยเกษียณแก่ลูกค้า ที่ครอบคลุมทั้งการให้คำปรึกษาและจัดทำแผนการเงินในทุกๆด้านตามที่กล่าวมาภายใต้ข้อจำกัดและเงื่อนไขเฉพาะของแต่ละบุคคล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายการเงินตามต้องการ และมีชีวิตบั้นปลายภายหลังเกษียณอย่างมีความสุข เปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างจุดที่เป็นอยู่ในปัจจุบันไปสู่เป้าหมายในอนาคต โดยนักวางแผนการเงิน CFP® จะต้องสอบผ่านตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด และปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ

     เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP® เป็นลิขสิทธิ์ของคณะกรรมการมาตรฐานการวางแผนการเงิน (Financial Planning Standards Board Ltd. - FPSB) ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมดูแลการพัฒนามาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP® เพื่อให้ผู้บริโภคที่อาศัยอยู่นอกประเทศสหรัฐอเมริกาได้รับประโยชน์และได้รับการคุ้มครอง สมาคมนักวางแผนการเงินไทย (สมาคมฯ) ซึ่งเป็นสมาชิกและมีคุณสมบัติตามข้อกาหนดของคณะกรรมการมาตรฐานการวางแผนการเงิน ได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการให้ดาเนินการบริหารโครงการคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP® ในประเทศไทย บุคคลที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์การรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP® และเกณฑ์การต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP® ที่สมาคมฯ กาหนด จะได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP® 

ข้อสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP®

ฉบับที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ

ฉบับที่ 2 การวางแผนการลงทุน

ฉบับที่ 3 การวางแผนการประกันภัย และการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ

ฉบับที่ 4 การวางแผนภาษีและมรดก และการจัดทำแผนการเงิน

     ผู้ที่จะได้รับคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงินและที่ปรึกษาการเงิน จะต้องมีคุณสมบัติสำคัญ 4 ประการเรียกว่า 4E's อันได้แก่

- การอบรม (Education)

- การสอบ (Examination)

- ประสบการณ์การทำงาน (Experience)

- จรรยาบรรณ (Ethics)

   การอบรม (Education)

     สมาคมนักวางแผนการเงินไทย (Thai Financial Planners Association: TFPA) กำหนดให้การอบรมหลักสูตรการวางแผนการเงินต้องมีจำนวนชั่วโมงการอบรมทั้งหมด 40 ชั่วโมง แบ่งเป็นการศึกษาในห้องเรียน (class room) 24 ชั่วโมง และการศึกษาด้วยตนเอง (self-study) 16 ชั่วโมง ทั้งนี้หลักสูตรการวางแผนทางการเงินประกอบด้วยองค์ความรู้ 6 ชุดวิชาดังต่อไปนี้

  ชุดวิชาที่ 1 พื้นฐานการวางแผนการเงิน ภาษี และจรรยาบรรณ (Foundation of Financial & Tax Planning)
  ชุดวิชาที่ 2 การวางแผนการลงทุน (Investment Planning)
  ชุดวิชาที่ 3 การวางแผนการประกันภัย (Insurance Planning)
  ชุดวิชาที่ 4 การวางแผนเพื่อวัยเกษียณ (Retirement Planning)
  ชุดวิชาที่ 5 การวางแผนภาษีและมรดก (Tax and Estate Planning)
  ชุดวิชาที่ 6 การจัดทำแผนการเงิน (Financial Plan Construction)

     ในการเข้ารับการอบรม ไม่จำเป็นต้องเข้าอบรมตามลำดับ ผู้เข้ารับการอบรมสามารถเข้าอบรมชุดวิชาใดก่อนก็ได้ ยกเว้นชุดวิชาที่ 6 จำเป็นจะต้องผ่านการอบรมชุดวิชาที่ 1-5 เสียก่อนจึงจะสามารถเข้าอบรมในชุดวิชาที่ 6 ได้ โดยในการเข้ารับการอบรมนั้น ไม่จำเป็นต้องผ่านการสอบแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามผู้ที่มีความประสงค์จะสมัครสอบจะต้องผ่านการอบรมในชุดวิชาที่ 1 และชุดวิชาที่เกี่ยวข้อง

   การสอบ (Examination)
     ก่อนจะขึ้นทะเบียนเป็นนักวางแผนการเงิน CFP® และที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ ต้องผ่านการสอบเพื่อประเมินความสามารถ ในการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้สำหรับให้คำปรึกษา และจัดทำแผนการเงิน อันจะนำมาซึ่งความน่าเชื่อถือและประโยชน์ของลูกค้า หรือผู้ขอรับคำปรึกษา โดยนักวางแผนการเงิน CFP® และที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ จะต้องผ่านการสอบหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP® ตามที่สมาคมกำหนดดังนี้
     ในการสอบ ทางสมาคมฯ ได้แบ่งข้อสอบออกเป็นทั้งหมด 4 ชุด โดยมีเนื้อหาครอบคลุมดังต่อไปนี้
- ข้อสอบฉบับที่ 1 ครอบคลุมเนื้อหาการอบรมชุดวิชาที่ 1
- ข้อสอบฉบับที่ 2 ครอบคลุมเนื้อหาการอบรมชุดวิชาที่ 2
- ข้อสอบฉบับที่ 3 ครอบคลุมเนื้อหาการอบรมชุดวิชาที่ 3 และ 4
- ข้อสอบฉบับที่ 4 ครอบคลุมเนื้อหาการอบรมชุดวิชาที่ 5 และ 6

     ในการสอบข้อสอบฉบับที่ 1 ฉบับที่ 2 และฉบับที่ 3 นั้น ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการสอบตามลำดับแต่อย่างใด ผู้เข้าสอบสามารถเลือกชุดข้อสอบที่ประสงค์จะสอบได้ตามความสมัครใจ แต่มีเงื่อนไขในการเข้าสอบคือ ต้องผ่านการอบรมชุดวิชาที่ 1 และชุดวิชาที่ข้อสอบชุดนั้น ๆ ครอบคลุมถึง เช่น ต้องการเข้ารับการสอบในข้อสอบชุดที่ 3 จะต้องผ่านการอบรมชุดวิชาที่ 1 และผ่านการอบรมในชุดวิชาที่ 3 และ 4 แล้ว เป็นต้น ส่วนการสอบข้อสอบฉบับที่ 4 จะต้องสอบผ่านข้อสอบฉบับที่ 1 ฉบับที่ 2 และฉบับที่ 3 ก่อน

     ส่วนเครื่องคิดเลขที่สมาคมนักวางแผนการเงินไทยอนุญาตให้นำเข้าห้องสอบมีดังต่อไปนี้คือ Texas Instruments BAII Plus, Texas Instruments BAII Plus Professional, Casio FC100, Casio FC 100V, Casio FC 200V, HP 10 B, HP 10 B II, HP 12 C และ HP 12 C Platinum

 ประสบการณ์การทำงาน (Experience)

     การขึ้นทะเบียนเป็น นักวางแผนการเงิน CFP®ผู้ที่จะขึ้นทะเบียนต้องมีประสบการณ์ทำงานในด้านที่เกี่ยวข้องตามประกาศใหม่ของทางสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ https://www.tfpa.or.th/FinancialPlanner?id=65 

     หลังจากที่ผู้สมัครได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านการศึกษา การสอบ และประสบการณ์การทำงานแล้ว ผู้สมัครจะต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณ ดังนี้
   ยึดมั่นและปฏิบัติตาม “ประมวลจรรยาบรรณและความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพวางแผนการเงิน” และ ”หลักปฏิบัติการวางแผนการเงิน” ที่สมาคมฯ กำหนด
   เปิดเผยข้อมูลการมีส่วนเกี่ยวข้องในกระบวนการไต่สวนหรือสอบสวนคดีทางแพ่งหรืออาญาของหน่วยงานกำกับดูแลตนเอง หรือหน่วยงานของรัฐ

     ในการยื่นขอขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP® หรือคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ ผู้ยื่นขอต้องสมัครเข้าเป็นสมาชิกของสมาคมฯ ควบคู่กับการยื่นขอขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพ

การขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน Associate Financial Planner Thailand, AFPT™
คุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ เป็นคุณวุฒิผู้ประกอบวิชาชีพที่รับรองโดยสมาคมนักวางแผนการเงินไทย ซึ่งรับรองความสามารถของที่ปรึกษาการเงินในการให้บริการวางแผนหรือปรึกษาการเงินซึ่งแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่
 ที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ ด้านการลงทุน ต้องผ่านการอบรม และสอบผ่าน ด้านการวางแผนการลงทุน (อบรม M1, M2 และสอบผ่านข้อสอบฉบับที่ 1 และ 2)

  ที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ ด้านการประกันชีวิต ต้องผ่านการอบรม และสอบผ่าน ด้านการวางแผนประกันภัย และการวางแผนเพื่อวัยเกษียณ  (อบรม M1, M3, M4 และสอบผ่านข้อสอบฉบับที่ 1 และ 3)
ทั้งนี้ การขึ้นทะเบียนเป็น AFPT™ ไม่มีข้อกำหนดจำนวนปีประสบการณ์การทำงานในวิชาชีพ

ค่าธรรมเนียมในการพิจารณาขึ้นทะเบียน
แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ค่าธรรมเนียมคำขอ จำนวน 535 บาท (เป็นอัตราที่รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) และในกรณีที่ผ่านการพิจารณาอนุมัติการขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ แล้ว จะต้องดำเนินการชำระค่าธรรมเนียมสมาชิกราย 2 ปี ดังนี้
     - สองปีเต็ม จำนวน 2,568 บาท
     - หนึ่งปีเต็ม จำนวน 1,284 บาท
     - ครึ่งปีที่สอง (ยื่นหลังจากวันที่ 1 กรกฎาคม) จำนวน 642 บาท
     นักวางแผนการเงินที่ได้รับการรับรองคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ จะต้องทำการต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ (renew) ทุก 2 ปีปฎิทิน และจะต้องมีจำนวนชั่วโมงการพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (Continuing Professional Development : CPD) จำนวนไม่น้อยกว่า 30 ชั่วโมง ประกอบการยื่นขอต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ พร้อมกับชำระค่าธรรมเนียมสมาชิกราย 2 ปี จำนวน 7,000 บาท (หรือจำนวน 7,490 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ภายในวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ครบกำหนดอายุด้วย

เกณฑ์การต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ

สมาคมนักวางแผนการเงินไทยให้สิทธิ์ในการใช้เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP® ซึ่งได้แก่ CFP®, CERTIFIED FINANCIAL PLANNERTM, และเครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ แก่ผู้ที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเกณฑ์การขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพ และเกณฑ์ต่าง ๆ ที่สมาคมฯ กำหนดภายหลังจากที่ได้รับการขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพ โดยระยะเวลาคุณวุฒิวิชาชีพเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่นักวางแผนการเงิน CFP® และที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ ได้รับการขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพ 

ทั้งนี้ นักวางแผนการเงิน CFP® และที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ จะต้องต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพและชำระค่าบำรุงสมาคมฯ ทุก 2 ปีปฏิทิน เพื่อคงสิทธิ์ในการใช้เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP® และเครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ และคงสถานะสมาชิกภาพสมาคมฯ โดยนักวางแผนการเงิน CFP® และที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ ที่ขึ้นทะเบียนคุณวุฒิวิชาชีพครั้งแรก ให้เริ่มต้นนับระยะเวลาสำหรับการยื่นต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ ตั้งแต่เดือนมกราคมของปีปฏิทินถัดไป ซึ่งนักวางแผนการเงิน CFP® และที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ จะต้องมีจำนวนชั่วโมงของการพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (Continuing Professional Development – CPD) ตามที่สมาคมฯ กำหนดเพื่อประกอบการต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ

กำหนดการต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ
นักวางแผนการเงิน CFP® และที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ จะต้องดำเนินการต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ รายงานชั่วโมงการพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และชำระค่าบำรุงสมาคมฯ ตามที่กำหนด ภายในวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ครบกำหนดต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ

ระยะเวลาผ่อนผันการยื่นต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ
นักวางแผนการเงิน CFP® และที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ ที่ไม่ได้ยื่นต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพภายในระยะเวลาที่กำหนด สามารถยื่นขอต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพได้ภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ของปีถัดมา

สถานภาพคุณวุฒิวิชาชีพและสมาชิกสมาคมฯ ภายหลังครบกำหนดต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ
หากนักวางแผนการเงิน CFP® และที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ ไม่ดำเนินการต่ออายุและชำระค่าบำรุงสมาคมฯ ภายในกำหนดระยะเวลาผ่อนผัน จะถือว่าคุณวุฒิวิชาชีพหมดอายุและสมาชิกภาพสมาคมฯ สิ้นสุดลง โดยนักวางแผนการเงิน CFP® และที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ จะไม่มีสิทธิ์ใช้เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP® และเครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ จนกว่าจะได้ดำเนินการตามเกณฑ์การยื่นต่ออายุภายหลังครบกำหนดยื่นต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ (Reinstatement) 
 
ขั้นตอนการยื่นต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP® และที่ปรึกษาการเงิน AFPT™
นักวางแผนการเงิน CFP® และที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ ต้องยื่นขอต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP® และที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ ทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์สมาคมฯ (www.tfpa.or.th ) ที่เมนู ระบบสมาชิก และต้องรับรองคำแถลงการณ์เพื่อเปิดเผยประวัติความผิดและ/หรือการดำเนินการความผิดทางวินัยที่เกิดขึ้นในช่วงเวลาก่อนการต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ

เอกสารประกอบการยื่นต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ
   นามบัตร กระดาษหัวจดหมาย และเอกสารสิ่งพิมพ์หรือโฆษณาที่มีการใช้เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP® หรือเครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ สำหรับการตรวจสอบการใช้เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพที่ถูกต้อง

หนังสือแจ้งเตือนการต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ           
   2 เดือนก่อนวันครบกำหนดยื่นต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ สมาคมฯ จะแจ้งเตือนให้นักวางแผนการเงิน CFP® และ/หรือที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ ยื่นต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ และดำเนินการสะสมจำนวนชั่วโมงการพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพให้ครบ 30 ชั่วโมงตามเกณฑ์ที่สมาคมฯ กำหนดภายในวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่ครบกำหนดต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ
   1 เดือนหลังวันครบกำหนดยื่นต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ สมาคมฯ จะแจ้งนักวางแผนการเงิน CFP® และ/หรือที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ ที่ยังไม่ได้ต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ ให้ยื่นต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ ภายในระยะเวลาผ่อนผัน มิฉะนั้นจะถือว่าคุณวุฒิวิชาชีพหมดอายุและสมาชิกภาพสมาคมฯ สิ้นสุดลง และไม่มีสิทธิ์ใช้เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP® หรือเครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT™
   หลังครบระยะเวลาผ่อนผันยื่นต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ สมาคมฯ จะแจ้งนักวางแผนการเงิน CFP® และ/หรือที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ ที่ยังไม่ได้ดำเนินการต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพภายในระยะเวลาที่กำหนดว่าคุณวุฒิวิชาชีพหมดอายุและสมาชิกภาพสมาคมฯ สิ้นสุดลง และไม่มีสิทธิ์ใช้เครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพนักวางแผนการเงิน CFP® หรือเครื่องหมายรับรองคุณวุฒิวิชาชีพที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ พร้อมทั้งให้ส่งนามบัตร กระดาษหัวจดหมาย และเอกสารสิ่งพิมพ์หรือโฆษณาฉบับปรับปรุงให้สมาคมฯ เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันว่าไม่ได้ใช้เครื่องหมายดังกล่าวแล้ว หากนักวางแผนการเงิน CFP® และที่ปรึกษาการเงิน AFPT™  ต้องการต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพใหม่ จะต้องปฏิบัติตามเกณฑ์การยื่นต่ออายุภายหลังครบกำหนดยื่นต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ (Reinstatement)

การยื่นต่ออายุภายหลังครบกำหนดยื่นต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ (Reinstatement) 
นักวางแผนการเงิน CFP® หรือที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ ที่ต้องการยื่นต่ออายุภายหลังครบกำหนดยื่นต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ (Reinstatement) สามารถดำเนินการทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์สมาคมฯ (www.tfpa.or.th) ที่เมนู ระบบสมาชิก

   กรณียื่นต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ ภายใน 4 ปีนับจากวันที่ครบกำหนดต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ นักวางแผนการเงิน CFP® หรือที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ จะต้อง
      มีจำนวนชั่วโมงการพัฒนาคุณวุฒิวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง (CPD) ให้ครบตามที่สมาคมฯ กำหนด
      ชำระค่าบำรุงสมาคมฯ
   กรณียื่นต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ เกินกว่า 4 ปีนับจากวันที่ครบกำหนดต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ นักวางแผนการเงิน CFP® หรือที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ จะต้อง
      สอบผ่านหลักสูตรการวางแผนการเงิน CFP® ตามเกณฑ์ที่สมาคมฯ กำหนด
      มีประสบการณ์การทำงานตามเกณฑ์ที่สมาคมฯ กำหนด
      ชำระค่าบำรุงสมาคมฯ

การเปลี่ยนแปลงข้อมูลส่วนบุคคล
นักวางแผนการเงิน CFP® และที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ มีหน้าที่แจ้งข้อมูลประวัติส่วนบุคคลและข้อมูลติดต่อที่เป็นปัจจุบัน ดังนั้น หากมีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดังกล่าว นักวางแผนการเงิน CFP® และที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ สามารถแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลในระบบสมาชิกทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์สมาคมฯ ที่ www.tfpa.or.th

การปรับปรุงและ/หรือการเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพ
สมาคมฯ อาจปรับปรุงและ/หรือเปลี่ยนแปลงเกณฑ์การต่ออายุคุณวุฒิวิชาชีพให้เหมาะสมตามสภาวการณ์ปัจจุบันที่มีการเปลี่ยนแปลง ดังนั้น นักวางแผนการเงิน CFP® และที่ปรึกษาการเงิน AFPT™ จึงควรติดตามข้อมูลประกาศต่าง ๆ ที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ของสมาคมฯ รวมถึงจดหมายแจ้งข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากสมาคมฯ อย่างสม่ำเสมอ