พูดถึงเรื่องวางแผนการเงิน จากการที่ผมได้พบและพูดคุยกับคนรู้จักและว่าที่ลูกค้า แทบจะ 99% ไม่รู้ว่าตัวเองมีทรัพย์สินอยู่เท่าไร จำได้แค่ราวๆว่ามี เงินฝาก มีประกันชีวิต กองทุนบ้าง หุ้นบ้าง มีรถ มีบ้าน แต่ไม่เคยรวบรวมข้อมูลให้เป็นชิ้นเป็นอันขึ้นมาเลย
ไม่แปลกเลยครับที่หลายรายจำไม่ได้ด้วยซ้ำว่ามีบัญชีเงินฝากอะไรบ้าง หรือเคยลงทุนในกองทุนของที่ไหน หรือประกันที่ซื้อไว้มีรายละเอียดอย่างไร ทำให้ไม่ทราบตัวเลขทรัพย์สินจริงๆของตัวเอง
แต่ที่แปลกเลยส่วนใหญ่กลับจำหนี้สินของตัวเองได้แม่น 555+ แน่นอนเพราะมันกังวลอยู่ตลอดเวลา
ปัญหาชองการไม่รู้ว่าทรัพย์สินตัวเองมีอะไร จึงทำให้เราใช้เงินทำงานได้ไม่มีประสิทธิภาพ เงินส่วนใหญ่ไปจมอยู่กับเงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ และสลากออมสิน/ธกส. อาจจะมีการลงทุนในหุ้น อสังหาฯ กองทุน LTF/RMF แต่ก็ยังเป็นสัดส่วนที่น้อยมากๆ
เชื่อ่ไหมครับว่าบางรายมีทรัพย์สินเป็นหลักสิบล้าน แต่อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยที่ได้อยู่แถวๆ 2% ต้นๆเท่านั้นเอง ส่งผลให้เงินออมของคนเหล่านี้เติบโตช้ามาก และที่แย่ไปกว่านั้นคือผลตอบแทนเฉลี่ยที่ได้นี้ ยังน้อยกว่าอัตราเงินเฟ้อด้วยซ้ำ ทำให้ทรัพย์สินที่มีเสื่อมมูลค่าลงไปทุกวัน
ถามว่า... “แล้วควรทำอย่างไรล่ะ”
ข้อแรกคงไม่ยากใช่ไหม แต่พออ่านข้อสองเริ่มมีคำถามอีกว่าแล้วงบดุลส่วนบุคคลทำอย่างไร ผลตอบแทนของทรัพย์สินแต่ละประเภทเป็นเท่าไร แล้วจะจัดสรรอย่างไรให้เหมาะสม
จากปัญหาลูกค้าไม่สามารถบอกได้ว่าตัวเองมีทรัพย์สินอะไรบ้าง ทีนี้ปัญหาไม่ได้ตกอยู่กับลูกค้าแล้วล่ะ แต่มันมาตกอยู่กับผมแทนว่าจะทำอย่างไรต่อไปดี
ด้วยความเป็นห่วงผมขอเตือนคนที่ไม่รวบรวมทรัพย์สินก่อนเลยว่า หากวันหนึ่งเป็นอะไรไป คนที่บ้านไม่มีทางรู้เลยว่ามีอะไรเก็บอยู่ตรงไหนก็ยังไม่รู้ หรือซ่อนหนี้ก้อนโตไว้โผล่มาอีกทีมีคนมายึดบ้านไป คนข้างหลังลำบากแน่ครับ ดังนั้นจึงควรจัดทำเอกสารงบดุลส่วนบุคคลเพื่อรวบรวมทรัพย์สินและหนี้สินของตัวเองไว้
วิธีที่ผมใช้แก้ปัญหานี้คือการให้ลูกค้าทำแบบสอบถามครับ เพราะแบบสอบถามจะมี Guide line ช่วยให้เห็นภาพว่าตัวเขาเองมีอะไรอยู่บ้าง โดยที่ผมจะแบ่งทรัพย์สินออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ ทรัพย์สินสภาพคล่อง ทรัพย์สินเพื่อการลงทุน และทรัพย์สินใช้ส่วนตัว ส่วนหนี้สินแบ่งเป็น หนี้สินระยะสั้น และหนี้สินระยะยาว
เวลานั่งคุยกันผมจะไม่ได้เอาแบบสอบถามยื่นให้ลูกค้ากรอกนะครับ แต่ใช้วีธีการพูดคุย สัมภาษณ์มากกว่า ซึ่งพอคุยๆไปข้อมูลที่ได้มาเยอะกว่าแบบสอบถามที่ทำมาเยอะ รายละเอียดพวกนี้ต้องจดมาให้หมดครับ เพราะมีผลต่อการวิเคราะห์เพื่อแนะนำการจัดการเงินให้เหมาะสมต่อไป
แต่ถ้าเขาไม่มีเวลาจริงๆผมจะใช้วิธีส่งเป็นไฟล์ Excel ไปให้กรอก แล้วเซฤส่งกลับมาให้ผม วิธีนี้ง่ายต่อนักวางแผนครับ สะดวกในการเอาไปจัดทำแผนการเงินด้วย แต่รับรองได้ว่าลูกค้าเบื่อแน่เพราะข้อมูลที่ต้องกรอกมีเยอะมากๆ เปิดมาเห็นคำถามคงอยากปิดไฟล์ไปนอนดีกว่า ทำให้กว่าจะได้ข้อมูลมาทำแผนใช้เวลาเหมือนกัน
ลองเอาไปปรับใช้กันดูหรือใครมีวิธีเจ๋งๆมาแชร์กันได้เลยครับ จะได้ออกไปช่วยกันวางแผนให้คนไทยมีความมั่นคงและมั่งคั่งทางการเงินกัน
เรื่องเล่าประสบการณ์นักวางแผนการเงิน CFP®
28 ม.ค. 2562